ต้นข้าว ปาณินท์
หัวข้อของชีวประวัตินี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไปหรือบทความบุคคล |
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
ศาสตราจารย์ ดร. ต้นข้าว ปาณินท์ สถาปนิกหญิงชาวไทย และศาสตราจารย์ที่ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ต้นข้าวเป็นลูกสาวของสองศิลปิน คือ อาจารย์อนันต์ ปาณินท์ ศิลปินแห่งชาติสาขาจิตรกรรม กับ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์ สถาปนิก นักวิชาการ อดีตคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และศิลปินแห่งชาติ
การศึกษา
[แก้]ศ.ดร.ต้นข้าว ปาณินท์ เป็นอาจารย์และสถาปนิก จบการศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร หลังจากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อปริญญาโทการออกแบบสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัย Houston สหรัฐอเมริกา รวมทั้งปริญญาโทและเอกทางด้านทฤษฎีสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย โดยในช่วงที่กำลังศึกษาปริญญาเอก มีโอกาสทำงานเป็นสถาปนิกและอาจารย์มหาวิทยาลัยควบคู่กันด้วย หลังจากเรียนจบปริญญาเอก อาจารย์ต้นข้าว ได้เดินทางกลับมายังประเทศไทย และได้เริ่มทำงานเป็นอาจารย์ประจำที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พร้อมกับการทำงานออกแบบ ได้มีผลงานทางวิชาการ บทความ หนังสือ ตีพิมพ์ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้งผลงานออกแบบอาคารในประเทศไทยอีกมากมาย ภายใต้ชื่อ Research Studio Panin [ต้องการอ้างอิง]
ผลงานแต่งและแปลหนังสือทางสถาปัตยกรรม
[แก้]พ.ศ. 2564
- หนังสือแปล สถาปัตยกรรมใหม่และบาวเฮาวส์ (แปลจาก The New Architecture and the Bauhaus)
พ.ศ. 2563
- หนังสือ Art-i-Fact เรื่องเล่าจากข้าวของ
พ.ศ. 2561
- หนังสือ ปฐมบท ทฤษฎีสถาปัตยกรรม
พ.ศ. 2560
- หนังสือแปล ปีเตอร์ สมิธสัน บทสนทนากับนักเรียน (แปลจาก Peter Smithson Conversations with Students)
- หนังสือแปล บทสนทนากับ มีส ฟาน เดอร์ โรห์ (แปลจาก Conversations with Mies van der Rohe)
พ.ศ. 2559
- หนังสือแปล ปีเตอร์ อดอล์ฟ โลส บทสนทนากับความว่างเปล่า (แปลจาก Adolf Loos, Spoken into the Void)
พ.ศ. 2558
- หนังสือแปล เลอ คอร์บูซิเอร์ บทสนทนากับนักเรียน (แปลจาก Le Corbusier Conversations with Students)
- หนังสือแปล ปรากฏกาล ชีวิตของงานสถาปัตยกรรมผ่านกาลเวลา (แปลจาก On Weathering, the Life of Building in Time)
- หนังสือแปล หลุยส์ คาห์น บทสนทนากับนักเรียน (แปลจาก Loius I. Kahn Conversations with Students)
พ.ศ. 2554
- หนังสือชื่อ Tracing the City: The Transformation of Spatial Structure and Human Interaction within the City from the 19th Century โดยสำนักพิมพ์ VDM Verlag, Germany.
พ.ศ. 2553
- หนังสือชื่อ THEORIA คนและความคิดทางสถาปัตยกรรม โดยสำนักพิมพ์ สมมติ, กรุงเทพ.
พ.ศ. 2552
- หนังสือชื่อ Architectural Spatiality โดยสำนักพิมพ์ VDM Verlag, Germany.
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[1]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๒๕, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๕๕, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗